หน้าหลัก |  สนทนา พ่อ แม่ ลูก |  เล่าเรื่องสมัยเรียนอนุบาล |  ติดต่อลงโฆษณา |  ติดต่อ Anubarn.com  
 
 
ประเภท
ถนน
จังหวัด
     
 
การเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism กับสมาธิของเด็ก


           การเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism จะช่วยให้ผู้เรียนมีสมาธิ สามารถทำงานได้นานขึ้นได้อย่างไร

          เรื่องสมาธิจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้เรียน ถ้าผู้เรียนอายุมากขึ้นก็จะมีสมาธิมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่ง ที่จะทำให้สมาธิดีขึ้น คือ ต้องมีสถานที่สำหรับให้ผู้เรียนทำการบ้านหรือศึกษาค้นคว้า เช่น อาจมีโต๊ะเขียนหนังสือหรือมี บริเวณไหนของบ้านก็ได้ที่จะใช้เป็นที่ทำการบ้าน เป็นที่เรียนหนังสือ เป็นที่ศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ บริเวณนั้นจะต้องม ีสิ่งของที่เขาจำเป็นต้องใช้ เช่น อาจมีพจนานุกรม (dictionary) และควรเป็นสถานที่ที่อยู่ห่างไกลจากโทรทัศน์ เพื่อที่เด็กจะได้มีสมาธิ ไม่วอกแวกได้ง่าย

          จริงอยู่บางคนอาจจะทำการบ้านได้ดีถ้ามีเสียงดนตรีเบา ๆ หรือมีเสียงคนรอบๆ ซึ่งจะต้องศึกษาดูว่าสิ่งเหล่านี้เป็น ปัจจัยเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือไม่ แต่สำหรับความคิดเห็นของผู้บรรยายคิดว่าควรเงียบๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของผู้เรียนด้วย และพ่อแม่ไม่ควรจุ้นจ้านวุ่นวายมากนัก แต่ต้องอยู่แถวๆ บริเวณนั้นเพื่อคอยตอบคำถาม สิ่งที่จะตอบต้องเป็นไปในแง่บวก เช่น อาทิตย์ที่ผ่านมาผู้บรรยายนั่งดูลูกทำการบ้าน ซึ่งกำลังเขียนบนจอคอมพิวเตอร์ เมื่อเข้าไปดูเห็นผิดมาก แต่ก็จะยังไม่พูด เมื่อลูกถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จะหยุดนิดหนึ่ง แล้วอ่านสิ่งที่ลูกเขียน เห็นว่ามีคำสะกดผิด แต่ก็จะยังไม่พูด พูดคุยกับลูกว่าคิดอย่างไรเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนที่ว่าดี บอกให้ลูกอ่านดังๆ จะได้ฟังว่าดีไหม เมื่อลูกอ่านไปสักข้อความหนึ่งก็จะเห็นเองว่าเขียนผิด เขาก็จะแก้ และพบว่าถ้าเราอยู่กับเขาตรงนั้น และค่อยๆ แบ่งเป็นช่วงๆ คืออ่านไปก่อนและให้ลูกดูเป็นช่วงๆ โดยมีคำแนะนำที่นุ่มนวล จะทำให้เด็กสามารถมีสมาธิที่นานขึ้น

          การจะกระตุ้นให้เด็กอยากทำอะไร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อยากทำจากข้างในของเด็กเอง คือเด็กอยากจะทำเอง กับอยากทำจากข้างนอกโดยการกระตุ้นจากพ่อแม่ให้เด็กอยากทำ เช่น เราบอกให้ลูกทำและเมื่อทำแล้วจะได้อะไร ซึ่งความจริงเราอยากให้ลูกอยากทำเองโดยที่เราไม่ต้องกระตุ้นมากนัก แต่ก็พบว่าการกระตุ้นจากข้างนอกก่อน นานๆ ไปจะทำให้เด็กเกิดความอยากทำออกมาจากข้างในเอง

          ยกตัวอย่าง ถ้าเราอยากให้ลูกสาวนั่งอ่านหนังสือคนเดียว ทั้งที่รู้ว่าลูกสาวชอบไปเล่นที่สนามเด็กเล่นกับ เราและจูงสุนัขไปด้วย เราก็บอกลูกสาวว่า หนูอ่านหนังสือคนเดียวก่อนนะสักเท่านี้นาที เมื่อหนูอ่านเสร็จแล้วแม่จะพา หนูไปเล่นที่สนามเด็กเล่น พบว่า หลังจากที่ทำเช่นนี้ไปได้ระยะหนึ่ง ในที่สุดลูกสาวก็อยากอ่านหนัง สือเองโดยไม่ต้องเอาสนามเด็กเล่นมาเป็นเงื่อนไข นั่นคือกระตุ้นจากภายนอกก่อนแล้วความอยากทำจากข้างในจะถูกกระตุ้นออกมาเอง

          เมื่อนำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับเด็กรายหนึ่งที่นั่งหลับตลอดในห้องเรียน พบว่าไม่เกิดผล ซึ่งเมื่อพูดคุยกับเด็กคนนี้เพื่อค้นหาว่ามีปัญหาอะไร ก็พบว่าเด็กเป็นโรคทางการนอนที่ไม่สามารถรักษาทางการแพทย์ได้ ฉะนั้นก่อนที่จะสรุปปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็ก ควรดูก่อนว่าเด็กมีปัญหาทางร่างกายหรือไม่

          กรณีปัญหาของเด็กรายนี้ อาจลองตรวจสอบข้อมูลว่าเด็กดูทีวี วิดีโอ เล่นเกมส์ ไปเที่ยวดึกหรือไม่ ทำให้มีเวลานอนน้อยจึงมาหลับในห้องเรียน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องเชิญพ่อแม่เด็กมาพูดคุยถึงปัญหาด้วย ว่าจะทำอย่างไรจึงจะกระตุ้นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของเด็ก พบว่า บางทีอาจต้องพาเด็กไปพบกับคนที่มีอาชีพที่เด็กสนใจ เพื่อให้เห็นว่าจำเป็นที่เขาจะต้องเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อจะได้นำไปใช้กับชีวิตจริง

 
     
   
   

 

  

     
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
 
ติดต่อ Anubarn.com
โทร.081-343-2101 อีเมล์: info@anubarn.com

Copyright 2006 by Anubarn.com