แนวคิดการสอนแบบ เรกจิโอ เอมีเลีย
การจัดการศึกษาตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลียเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการ์การ
เรียนรู้สำหรับเด็ก ปฐมวัยที่พัฒนามาจากความเชื่อว่า การเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การ ถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การสอนในเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่การมองว่า
เด็กเป็นแก้วที่ว่างเปล่า ที่ครูจะเทน้ำตามความต้องการของครูลงไป สู่เด็ก นักการศึกษา
ที่เรกจิโอ เอมีเลียเปรียบเทียบ การเรียนรู้ของเด็กและการสอนของครูเป็นการผสมผสาน ของวัตถุจากแก้วทั้งสองใบรวมกัน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็ก
ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตน สนใจ หรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็ก และบทบาทของครูจะต้อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้
อย่างเต็มตามศักยภาพของเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจว่าเด็กมีวิธีการเรียนรู้ ได้อย่างไรและเด็กมีความสามารถ ในการสื่อออกมาถึงความรู้ วามเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยวิถี
ทางใด จัดประสบการณ การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางตามแนวคิดแรก
จิโอเอมีเลีย จึงเป็นการจัดสภาพการเรียนรู้ที่สนองต่อความ อยากรู้และแรงจูงใจ ภายในของ
เด็กในการ เรียนรู้ภายใต้การจัดิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เหมาะสม กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
เรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) เป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีและเป็นจุดเริ่ม
ต้นของความ งอกงามของแนวคิดนี้ในปี ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองแม่บ้านกลุ่มหนึ่ง
ในวิลลา เซลลา (Villa Cella) ซึ่งเป็น หมู่เล็ก ๆ ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองเรกจิโอ เอมีเลีย 2-3 ไมล์ มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะจัดการศึกษาสำหรับเด็ก ๆ ในหมู่บ้านท่ามกลางซากปรัก
หักพังจาก ผลของสงคราม จากจุดเริ่มต้นนี้และภายใต้การนำของลอริสมาลากุซซี่ นักการศึกษา และกลุ่มผู้ปกครองได้ฟันฝ่าจนในปี ค.ศ. 1963 การปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลยอมรับ การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสวัสดิการจากการปกครองท้องถิ่น เป็นบริการทางสังคมที่เทศบาลจัดสรรให้แก่ประชาชน ผู้ปกครองต้องการโรงเรียนปฐมวัย รูปแบบใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้นนอก เหนือจากการทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ดูแลเด็กเท่านั้น
มาลากุซซี่และกลุ่มนักการศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี บทความ งานวิจัยข้อ คิดเห็นจาก ศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการศึกษา ทดลองปฏิบัติ แล้ววิเคราะห์สะท้อน ผลการปฏิบัติ
ทำการปรับปรุง จนได้แนวคิดและการปฏิบัติในการจัดประสบ การณ ์การเรียนรู้สำหรับ เด็กปฐมวัย และประสบความสำเร็จ จนเป็นที่รู้จักของนักการศึกษาใน กลุ่มประเทศยุโรป อเมริกาเหนือ
และอเมริกาตั้งแต ่ปี ค.ศ. 1980 เรกจิโอ เอมีเลีย ได้กลาย เป็นชื่อของแนวคิดในการจัดการศึกษา สําหรับเด็กปฐมวัยเป็นต้นมาสำหรับ แนวคิดสำคัญที่นำไป สู่การปฏิบัติในการจัด ประสบการณ์การ เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยมีดังนี้คือ
1. วิธีการมองเด็ก (The image of the child) เด็กในสายตาของครูที่เรกจิโอ เอมิเลีย คือ เด็กแต่ละคนมีความสามารถในการ รับรู้และเรียนรู้ตั้งแต่วินาทีแรกที่กำเนิดมา เด็กมีวิถี ของการเรียนรู้เป็นไปตามระยะของพัฒนาการในแต่ละวัย เด็กแต่ละคนจะเต็มไป ด้วยพลัง ความปรารถนาที่จะเติบโต และงอกงาม ความอยากรู้อยากเห็น ความสามารถในการแสดงออก ถึงความต้องการที่จะสัมพันธ์ และสื่อสารกับผู้อื่น ด้วยการแสดงออกทางแววตา สีหน้า อากัปกริยา การจับต้องสัมผัส ฯลฯ โดยเฉพาะความ ต้องการที่จะสื่อสารและ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นปรากฏ ออกมาตั้งแต่แรกเกิด ความสามารถในการสื่อสาร นี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเด็กเพื่อการอยู่รอดและ คงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเผ่าพันธุ์ที่ตนกําเนิดมา
2. โรงเรียนเป็นสถานที่บูรณาการสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย การใช้ชีวิตและมีสัมพันธ์ภาพร่วมกัน ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก โรงเรียนเปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการอยู่ตลอดเวลาและ มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวของเด็กต้องมีส่วนร่วมในการ ดำเนินชีวิตของเด็กในโรงเรียน นอกจากครอบครัวแล้วชุมชน ก็จะต้องมีส่วนร่วมและรับรู้ถึงความเป็นไปในโรงเรียนเช่นกัน เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงสิทธิที่พึงได้ของเด็กปฐมวัยและ การยอมรับเด็กในฐานะของการเป็น ผู้รับช่วงหน้าที่ในการจรรโลงสังคมในอนาคต
3. ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน การสอนและการเรียนต้องควบคู่ไปด้วยกัน แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย จะให้ความสำคัญของการเรียนรู้ มากกว่าการสอน มาลากุซซี่กล่าวว่า ก่อนจะเริ่มเข้าสู่การสอน
ถ้าครูยืนสังเกต อยู่ข้าง ๆ สักครู?และเรียนรู้จากห้องเรียนในขณะนั้นว่าเด็กกำลัง ทําอะไรอยู่ และถ้าครูสามารถเข้าใจได้ถูกต้อง บางทีการสอนในวันนั้น อาจแตกต่างจากที่ผ่านมา วัตถุประสงค์ ของการจัดการศึกษาในแนวเรกจิโอ มีเลียคือการจัดสิ่งแวดล้อมและ ให้โอกาสเด็กได้คิดประดิษฐ์และ ค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้ที่มีคุณค่าสําหรับเด็กจึงไม่ใช่การ
สอนจากการที่เป็นการบอก เล่าโดยตรงแต่เป็นการจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนเป็น กุญแจสําคัญที่นำสู่การสอน
วิธีใหม่ โดยครูเป็น ผู้ประสานงาน ส่งเสริมและจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ครูต้องมีการนำเสนอ ทางเลือกที่หลากหลาย การเสนอความคิด เห็นและเป็น ผู้สนับสนุนการเรียนรู้
ครูสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลียต้องปฏิบัติตัวเป็นนักศึกษา ค้นคว้าวิจัย เป็นนักสำรวจและตระเวนเก็บข้อมูลจากทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ของทุกคนจากการประชุม
ปฏิบัติการ การสัมมนา หรือการมีโอกาสพบปะกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการในสาขา
วิชาชีพหรืออาชีพต่าง ๆ เพื่อเป็นประสบการณ์และข้อมูลในครูแต่ละคน เพื่อที่จะโยงเข้าสู่การจัดสถานการณ์ หรือกิจกรรมที่นำเด็กไปสู่ประสบการณ ์เรียนรู้ที่ก้าวสู่การพัฒนาการทางในขั้นต่อ ๆ ไป สิ่งที่นักการศึกษา ได้จากการพูดคุยอภิปรายแลก เปลี่ยนความคิดเห็นแล้วนำไปสู่การปฏิบัติแนวใหม่ สิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นเพียง เครื่องมือในการทำงานเท่านั้นแต่ ยังเป็นหลักปฏิบัติที่เป็นปกติในการทำงาน การศึกษา วิจัย ค้นคว้า แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มนักการศึกษาและกลุ่มปฏิบัติการ การเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ นำมาซึ่งสิ่งที่มีคุณค่า คือการเป็นส่วนรวม ของกลุ่มและก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเหนียวแน่น จากแนวคิดสำคัญประการต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นปรัชญาทางการศึกษาที่กลุ่มนักการศึกษาในเรกจิโอ เอมิเลีย กำหนดเป็นเงื่อนไข เป็นกรอบความคิด เป็นฐานของความเชื่อและเป็นเข็มทิศที่นำไปสู?การกำหนดหลักสูตร และการปฏิบัต ิการจัดสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในเด็ก โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
|