หน้าหลัก |  สนทนา พ่อ แม่ ลูก |  เล่าเรื่องสมัยเรียนอนุบาล |  ติดต่อลงโฆษณา |  ติดต่อ Anubarn.com  
ประเภท
ถนน
จังหวัด
 
 
 
 
 

 

 

หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย


ความเป็นมา

          หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยเป็นองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี และคณาจารย์ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์ความรู้นี้ เป็น ผลงาน จากโครงการวิจัย ซึ่งหน่วยปฏิบัต ิการวิจัยการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดําเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยดำเนิน การเป็นโครงการย่อยมาเป็นลำดับ รวมทั้ง สิ้น 6 โครงการ จนสามารถสรุปเป็นหลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถชีวิตไทย และจัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2535 และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2536 โดยการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากองค์การ UNICEF และฝ่ายวิจัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทฤษฎีที่มีอิทธิพล

          จากการรวบรวมทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กและการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัยพบว่าทฤษฎี และหลักการที่ใช้ กันอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีและหลักการของต่างประเทศ ประเทศไทยเรายังไม่มี ทฤษฎีหรือหลักการในการพัฒนาเด็ก ที่พัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลที่มาจากเด็กไทย และบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมไทย ดังนั้นคณะกรรมการวิจัย จึงได้พยายามศึกษาและผสมผสานความรู้ตามหลักสากลกับภูมิปัญญา วิถีชีวิตและระบบคุณค่าของสังคมไทยเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ได้หลักการและ รูปแบบในการพัฒนาเด็ก ไทยให้มีคุณ ภาพ แต่อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งแนวคิดทฤษฎีได้ดังนี้

          1. แนวคิด หลักการ และข้อมูลของไทย ได้แก่

  • แนวคิดทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนามนุษย์ กระบวนการพัฒนา
    สติปัญญา กระบวนการพัฒนาคุณธรรม และกระบวนการกัลยาณมิตร

  • แนวคิดทางวัฒนธรรมไทย ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสํานึกความเป็นไทย ความประพฤติของเด็กไทย
    การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ด้านค่านิยมและคุณธรรม การอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยรักและถนอม แนวคิดเกี่ยวกับวัฒน
    ธรรมท้องถิ่น ภาษา สิ่งแวดล้อมทางจิต วิญญาณและทางธรรมชาติ และวงศาคณาญาติ

  • ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของเด็กไทย แนวโน้มของสังคมและเด็กไทยในอนาคต

          2. แนวคิด หลักการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่

  • แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษา ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา เด็ก โดยครอบครัว

  • แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
    และแนวคิดเกี่ยวกับ การเล่นของเด็กปฐมวัย

กระบวนการ

องค์ความรู้ที่ได้เป็นผลมาจากการดำเนินงานตามกระบวนการ ดังนี้

          1. ขั้นการสร้างหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย คณะกรรมการวิจัยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั้งของไทย และต่างประเทศ วิเคราะห์แนวคิดที่ใช้เป็นฐานของการวิจัย และกำหนดเป็นหลักการในการพัฒนาเด็ก

          2. ขั้นการสร้างรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยโดยกําหนดกรอบความคิด โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการและกิจกรรมการพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับหลักการในการพัฒนาเด็กที่กำหนดไว้ แล้วเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ ได้พิจารณาให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบ
ให้สมบูรณ์ขึ้น

          3. ขั้นการทดลองใช้หลักการและรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยการพัฒนาสื่อตามที่รูปแบบนําไปทดลองใช้ในหมู่บ้านชนบทของไทย ใน 4 ภาคภูมิศาสตร์ และเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

          4. ขั้นการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยจัดพิมพ์ผลงานเผยแพร่ในประเทศไทยและแปลผลงานเป็นภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์เผยแพร่ใน ต่างประเทศ

ผลงานวิจัยอันเป็นองค์ความรู้ : หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

1. ผลการพัฒนาหลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

          1.1 หลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย ซึ่งเป็นผลจากการบูรณาการข้อมูล 4 ด้าน คือ หลักการทาง
พระพุทธศาสนา หลักการทางวัฒนธรรมไทย หลักการทางการศึกษาปฐมวัย และข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ ปัญหาและแนวโน้มของสังคมไทยและ เด็กไทยมีทั้งสิ้น 4 หมวด รวม 123 ข้อ ดังนี้

  • หลักการทั่วไปในการพัฒนาเด็ก มีจํานวน 8 ข้อ

  • หลักการในการเตรียมครอบครัวเด็ก มีจํานวน 8 ข้อ

  • หลักการในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวม 94 ข้อ จำแนกเป็น หลักการทั่วไปในการส่งเสริม
    พัฒนาการของ เด็กปฐมวัย มี 24 ข้อ และหลักการในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย 70 ข้อ

  • หลักการในการพัฒนาผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก 13 ข้อ

          1.2 รูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย ที่พัฒนาขึ้นโดยยึดหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยมี 2 รูปแบบ คือ

          1 ) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยโดยครอบครัวเป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาเด็กวัย0-3 ปี ผ่าน ทางการพัฒนาพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก รูปแบบนี้ได้จัดทำสาระเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่จําเป็นและสอดคล้อง กับหลักการที่เป็นพื้นฐาน และได้พัฒนา สื่อต่างๆ ห้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กได้ศึกษาประกอบด้วยหนังสือชุดการอบรม เลี้ยงดูเด็กเล็กจํานวน 37 เล่ม เทปเสียงบรรยายสาระในหนังสือ จํานวน 37 ตลับ และปฏิทินสรุปสาระสําคัญจาก หนังสือ 37 เล่ม โดยการให้บุคคลในชุมชนที่มีความสามารถทําหน้าที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง ให้พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ได้มาศึกษาร่วมกัน จัดสัปดาห์ละครั้งต่อเนื่องกันเป็นระยะยาว โดยดําเนินการตามกระบวนการและสื่อที่ให้ไว้ตามคู่มือ การอบรมผู้เลี้ยงดูเด็ก การศึกษาในลักษณะนี้สามารถช่วยพัฒนานิสัยการเรียนรู้และกระบวน การเรียนรู้ของพ่อแม่ไป พร้อมๆกับการพัฒนาความ รู้ความเข้าใจและ การปฏิบัติเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ทั้งยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ ์และความร่วมมือในครอบครัวด้วย

          2 ) รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย เป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาเด็กวัย 3-6 ปี ผ่านทางการพัฒนา ผู้ดูแลเด็ก รูปแบบนี้ได ้กำหนดกิจกรรมประจำวันของเด็ก ซึ่งได้จัดไว้อย่างมีหลักการและมีสัดส่วนสมดุลกันในเรื่อง ต่างๆ ที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน รวมทั้งเสนอแนะวิธีการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก ซึ่งมีทั้งการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต ได้เรียนรู้แบบธรรม ชาติจากการปฏิสัมพันธ ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวด ล้อมต่างๆ และได้เรียนรู้จากการสอนโดยตรงซึ่งผู้ดูแลเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการฝึก ปฏิบัติในการทํางานจริง โดยได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ซึ่งจะนิเทศให้ผู้ดูแลเด็กสามารถ ปฏิบัติงานได้ ตามคู่มือการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

2. ผลการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย สรุปได้ดังนี้

  • หลักการที่ใช้เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสม รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยโดยครอบครัว เอื้ออำนวยให้คนในชุมชนสามารถช่วยกัน
    พัฒนาพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้ดี แม้ว่าผู้ เลี้ยงดูเด็กจะมีพื้นฐานทางการศึกษาไม่เกินประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างไรก็ตาม ผลจากความ รู้ความเข้าใจ ของพ่อแม่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ส่งผลถึงตัวเด็กนั้น ยังไม่สามารถสรุป ได้ชัดเจนจำเป็นต้องติด ตามต่อไป

  • รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยมีความเหมาะสม สามารถช่วยให้ผู้ดูแลเด็กจัดการศึกษา
    ให้แก่เด็กได้ดีขึ้น แม้ว่าผู้ดูแล เด็กจะมีความรู้ที่จํากัด และมีปัญหาหลายประการ เช่น จำนวนเด็กมีมาก อาคารสถานที่ไม่เอื้ออำนวย วัสดุอุปกรณ์การสอนมีน้อย ผลจากการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบเสนอแนะ 2 รูปแบบดังกล่าวนัยว่าประสบผลสําเร็จในภาพรวม แต่ยังต้องการการปรับปรุงและ การดำเนินการต่อไป ในจุด ที่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเวลาจำกัดงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา การพัฒนา จึงได้ดำเนินการ ต่อไป โดยปัจจุบันคณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการต่อเนื่องเป็นโครงการที่ 7 เพื่อติดตามผลการใช้รูปแบบ การพัฒนา เด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยต่อไ

ที่มา : http://www.childthai.org/cic/c276.htm

ข้อมูลเพิ่มเติม


ทิศนา แขมมณีและคณะ หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2536 ( พิมพ์ครั้งที่ 2 )

ทิศนา แขมมณีและคณะ รายงานการวิจัยเรื่อง หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย หน่วยปฎิบัติการวิจัย การศึกษาปฐมวัย ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกสารเย็บเล่ม , 2536

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
ติดต่อ Anubarn.com
โทร.081-343-2101 อีเมล์: info@anubarn.com

Copyright 2006 by Anubarn.com