หน้าหลัก |  สนทนา พ่อ แม่ ลูก |  เล่าเรื่องสมัยเรียนอนุบาล |  ติดต่อลงโฆษณา |  ติดต่อ Anubarn.com  
ประเภท
ถนน
จังหวัด
 
 
 
 
 

การสอนแบบโครงการ (The Project Approach)


ความเป็นมา

          นักการศึกษาปฐมวัยส่วนมากกล่าวถึงการใช้โครงการกับเด็กบางคนแนะนําว่าการสอนแบบโครงการ เป็นวิธีการหนึ่งใน หลายวิธีที่สามารถส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจ เห็นผลการกระทําที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และเด็กจะมีประสบ การณ์จากการ ปฏิสัมพันธ์กับบุคคล วัตถสิ่งของและสิ่งแวดล้อม

          การสอนแบบโครงการมีมานานแล้วมิใช่เป็นเรื่องใหม่ในการศึกษา แต่กลับมาได้รับความสนใจอย่างมากในประเทศ สหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศ ทั้งนี้เนื่องมาจากผลการวิจัยที่ทําให้เข้าใจยิ่งขึ้นว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร และความจําเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการคิดแก่ปัญหาของเด็กเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายของสังคม เทคโนโลยี รวมทั้งแนวโน้มของหลักสูตรแบบบูรณาการ และรายงานความประทับใจของนักการศึกษา รวมทั้งบรรดาครู อาจารย์ที่ได้ไปเห็นเด็กในโรงเรียนก่อนประถมศึกษาของเมืองเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia) ทางตอนเหนือของประเทศ
อิตาลี (Katz, 1994)

หลักการ

          โครงการ คือการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทําโดยเด็ก กลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียน หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการคือความพยายามที่จะค้นหาคําตอบจากคําถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ไม่ว่าคําถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครูหรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม จุดประสงค์ของโครงการคือการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่อง มากกว่าการเสาะแสวงหาคําตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคําถามที่ครูเป็นผู้ถาม (Katz,1994)

          การทําโครงการไม่สามารถทดแทนหลักสูตรทั้งหมดได้ สําหรับเด็กปฐมวัยถือเป็นส่วนที่เสริมเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อย่างไม่เป็นทางการเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรเท่านั้น งานโครงการ จะไม่แยกเป็นรายวิชา เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่จะบูรณาการทุกวิชาเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ต้องการครูเป็นผู้ชี้แนะ และเป็นที่ปรึกษาในการทําโครงการ

          ส่วนเวลาที่ใช้ในการทํางานแต่ละโครงการนั้นอาจใช้เวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหนึ่งสัปดาห์ขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง อายุ และความสนใจของเด็ก (Katz, 1994)

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
ติดต่อ Anubarn.com
โทร.081-343-2101 อีเมล์: info@anubarn.com

Copyright 2006 by Anubarn.com